โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ป้องกันอย่างไร ?

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ป้องกันอย่างไร ?
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted disease; STD)  คือ การติดเชื้อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ โดยผ่านการจูบ, การสัมผัสหรือถูอวัยวะเพศ, การมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก (การใช้ปากกับอวัยวะเพศ), การร่วมเพศ (องคชาตในช่องคลอด องคชาตในทวารหนัก), การใช้เซ็กซ์ทอย รวมถึง การติดเชื้อจากแม่ไปสู่ลูกระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และหลังคลอด

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ?

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัย
  • ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
  • ผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ผู้ที่ใช้สารเสพติดชนิดฉีด

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อย

  • เอชไอวี HIV
  • เอชพีวี HPV
  • หนองในแท้
  • หนองในเทียม
  • หูดหงอนไก่
  • เริม
  • ซิฟิลิส
  • ไวรัสตับอักเสบบี
  • ไวรัสตับอักเสบซี

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่รักษาหาย และไม่หาย

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่รักษาหาย

  • หนองในแท้
  • หนองในเทียม  
  • ซิฟิลิส  
  • ทริคโคโมแนส  
  • กามโรคของท่อและต่อม 
  • น้ำเหลือง  
  • แผลริมอ่อน  
  • หิดและโลน  
  • หูดข้าวสุก

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่รักษาไม่หายขาด

  • เอชไอวี  
  • เริม 
  • หูดหงอนไก่  
  • ตับอักเสบบี
  • ตับอักเสบซี 

วิธีการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  • การไม่มีเพศสัมพันธ์เป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด แต่ถ้าเป็นไปไม่ได้ การมีคู่นอนคนเดียวจะช่วยลดโอกาสเกิดโรคได้ 
  • การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ และใช้อย่างถูกวิธี
  • ใช้สารหล่อลื่นสูตรน้ำเพื่อช่วยลดโอกาสการฉีกขาดของถุงยางอนามัยหรือแผ่นยางอนามัย  อย่าใช้วาสลีนหรือน้ำมันนวดตัว เพราะอาจทำให้ถุงยางหรือแผ่นยางอนามัยเสื่อมหรือฉีกขาดได้ง่าย
  • ใช้ถุงยางอนามัยใหม่หรือแผ่นยางอนามัยใหม่ทุกครั้ง ไม่ควรใช้ซ้ำ
  • หากคุณคิดว่า คุณเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อย่ามีเพศสัมพันธ์อีกจนกว่าคุณจะไปพบแพทย์
  • การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี สำหรับคนที่มีอายุ 9-45 ปี โดยเฉพาะก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก จะมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี

เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์

เมื่อพบว่า มีอาการผิดปกติที่สงสัยว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือเพิ่งมีความเสี่ยงในการติดโรค ควรรีบปรึกษาแพทย์ และงดการมีเพศสัมพันธ์ชั่วคราวเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อไปยังบุคคลอื่นจนกว่าจะทราบผลการตรวจ ถ้าแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคควรงดการมีเพศสัมพันธ์ จนกว่าจะได้รับการรักษาจนหาย และแนะนำให้คู่นอนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เข้ารับการตรวจรักษาด้วย 

ขอบคุณข้อมูล : staystifree, pidst

อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจที่นี่