หูดหงอนไก่ สาเหตุหลักพบว่า 90% มาจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) ซึ่งมีมากกว่า 200 สายพันธ์ สามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่พบมากในหมู่วัยรุ่นเนื่องจากวัยรุ่นในปัจจุบันขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตัวเอง หากเป็นแล้วไม่รีบรักษาจะลุกลามทำให้ยากต่อการรักษา เชื้อไวรัส HPV แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- ประเภทที่เสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็ง ได้แก่ สายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 35, 39, 41-45, 51, 52, 56, 59
- ประเภทที่ไม่มีความเสี่ยงต่อมะเร็ง ได้แก่ สายพันธุ์ 6, 11, 42, 43, 44
หูดหงอนไก่ อาการเป็นอย่างไร ?
Table of Contents
หูดหงอนไก่ จะมีลักษณะเป็นติ่งเนื้อสีชมพูหรือขาว ผิวขรุขระเป็นหยักคล้ายหงอนไก่ หรือดอกกะหล่ำ บริเวณที่พบบ่อย อาจพบได้หลายตำแหน่งพร้อมๆกัน รอบปากช่องคลอด ใต้หนังหุ้มปลายองคชาติ บริเวณลำองคชาต ปากมดลูก ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ รอบทวารหนัก อัณฑะ หูดหงอนไก่จะสามารถขยายจำนวนได้โดยได้รับการกระตุ้นจากความร้อน ความชื้น
หูดหงอนไก่ สาเหตุเกิดจากอะไร ?


หูดหงอนไก่ สาเหตุหลักพบว่า 90% มาจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) ซึ่งมีมากกว่า 200 สายพันธ์ ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกันที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง เชื้อไวรัสชนิดนี้ส่วนมากติดต่อกันได้ผ่านทางเพศสัมพันธ์ หรือกิจกรรมทางเพศอื่น ๆ โรคหูดหงอนไก่สามารถติดต่อได้ทั้งชายและหญิง และจะยิ่งเสี่ยงมากขึ้นหากเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ และมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน
“หูดหงอนไก่ไม่สามารถติดต่อกัน ผ่านการจูบ การกอด หรือการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกันได้”
การวินิจฉัย หูดหงอนไก่
การวินิจฉัยหูดหงอนไก่ เน้นไปที่การตรวจหาเชื้อไวรัส HPV เนื่องจากหากพบว่ามีการติดเชื้อ HPV ในร่างกายก็สามารถระบุได้อย่างทันทีว่า หูดที่เกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศหรือทวารหนักคือหูดหงอนไก่ โดยในการวินิจฉัยเบื้องต้น แพทย์อาจใช้กรดอะซิติกเพื่อทำให้หูดมีสีซีดลง แล้วตรวจด้วยแว่นขยายหรือกล้องเพื่อให้เห็นได้ชัดเจน จากนั้นแพทย์จะมีการสั่งตรวจด้วยวิธีแปปสเมียร์ ซึ่งจะเก็บตัวอย่างเซลล์ที่บริเวณปากมดลูก หรือบริเวณทวารหนักไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อระบุเชื้อ ไม่เพียงเท่านั้น แพทย์ยังอาจเก็บตัวอย่างเพิ่มเติมเพื่อตรวจหาสายพันธุ์ของเชื้อเอชพีวี และความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง
หูดหงอนไก่ รักษาอย่างไร ?
การรักษาหูดหงอนไก่นั้น หากขนาดของหูดไม่ใหญ่มากนัก แพทย์จะสั่งยาชนิดทาให้ผู้ป่วยใช้ทาบรรเทาอาการและช่วยให้หูดหงอนไก่หลุดออกไป นอกจากนี้ การรักษาด้วยการผ่าตัดยังเป็นการรักษาที่ดีและรวดเร็ว ซึ่งในปัจจุบัน การผ่าตัดที่นิยมใช้ได้แก่ การจี้ด้วยความเย็น การจี้ด้วยไฟฟ้า การผ่าตัด และการรักษาด้วยเลเซอร์ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง
ในระหว่างการรักษา ผู้ป่วยสามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ด้วยการรักษาความสะอาด และพยายามให้บริเวณแผลแห้งอยู่เสมอ อีกทั้งยังควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสที่บริเวณหูดด้วยมือหรือเช็ดด้วยผ้าเพราะจะทำให้เกิดการอักเสบหรือระคายเคืองเพิ่มขึ้น
หูดหงอนไก่ ป้องกันได้อย่างไร ?


- สวม ถุงยางอนามัย ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
- มีคู่นอนเพียงคนเดียว ไม่ควรเปลี่ยคู่นอนบ่อย
- ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน
- การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV (HPV vaccine)
- ตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ขอบคุณข้อมูล : intouchmedicare, Pobpad
อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม
หากคุณมีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ HPV ซึ่งเป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่ แนะนำให้รีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว หากตรวจพบเร็ว จะทำให้คุณได้รับการรักษาที่เหมาะสม และหยุดการลุกลามของโรคได้